ประเทศอินโดนีเซีย
อยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นประเทศที่มีหมู่เกาะมากที่สุด
และใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่ ๆ ห้าเกาะ และหมู่เกาะเล็ก ๆ อีกประมาณ 30 หมู่เกาะ
รวมแล้วมีอยู่ 13,677 เกาะ เป็นเกาะที่มีคนอยู่อาศัยประมาณ 6,000
เกาะ รูปลักษณะหมู่เกาะจะวางตัวยาวไปตามแนวเส้นศูนย์สูตร
คล้ายรูปพระจันทร์ครึ่งซีกหงาย คำว่าอินโดเนเซีย มาจากคำในภาษากรีกสองคำคือ อินโดซ
หมายยถึง อินเดียตะวันออก และนิโซสหมายถึงเกาะ จึงมีความหมายว่า
หมู่เกาะอินเดียตะวันออก
หมู่เกาะอินโดนีเซีย อยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิค จึงเป็นเสมือนทางเชื่อมระหว่างสองมหาสมุทร และสะพานเชื่อมระหว่างสองทวีปคือ ทวีปเอเชีย และทวีปออสเตรเลีย
อินโดนีเซียมีพื้นที่ประมาณ 2,000,000 ตารางกิโลเมตร มีพื้นน้ำใหญ่เป็นสี่เท่าของพื้นที่แผ่นดิน อาณาเขตจากตะวันออกไปตะวันตก ยาวประมาณ 5,100 กิโลเมตร จากเหนือจรดใต้ยาวประมาณ 1,800 กิโลเมตร
เกาะใหญ่ทั้งห้าเกาะ ประกอบด้วย เกาะสุมาตรา มีพื้นที่ประมาณ 473,600 ตารางกิโลเมตร เกาะกาลิมันตัน มีพื้นที่ประมาณ 539,500 ตารางกิโลเมตร (เฉพาะดินแดนของอินโดนีเซีย ซึ่งประมาณสองในสามของพื้นที่เกาะบอร์เนียวทั้งหมด) เกาะสุลาเวสี มีพื้นที่ประมาณ 189,200 ตารางกิโลเมตร เกาะชวา มีพื้นที่ประมาณ 132,200 ตารางกิโลเมตร และเกาะอิเรียนจายา (อิเรียนตะวันตก) มีพื้นที่ประมาณ 422,000 ตารางกิโลเมตร
หมู่เกาะอินโดนีเซีย อยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิค จึงเป็นเสมือนทางเชื่อมระหว่างสองมหาสมุทร และสะพานเชื่อมระหว่างสองทวีปคือ ทวีปเอเชีย และทวีปออสเตรเลีย
อินโดนีเซียมีพื้นที่ประมาณ 2,000,000 ตารางกิโลเมตร มีพื้นน้ำใหญ่เป็นสี่เท่าของพื้นที่แผ่นดิน อาณาเขตจากตะวันออกไปตะวันตก ยาวประมาณ 5,100 กิโลเมตร จากเหนือจรดใต้ยาวประมาณ 1,800 กิโลเมตร
เกาะใหญ่ทั้งห้าเกาะ ประกอบด้วย เกาะสุมาตรา มีพื้นที่ประมาณ 473,600 ตารางกิโลเมตร เกาะกาลิมันตัน มีพื้นที่ประมาณ 539,500 ตารางกิโลเมตร (เฉพาะดินแดนของอินโดนีเซีย ซึ่งประมาณสองในสามของพื้นที่เกาะบอร์เนียวทั้งหมด) เกาะสุลาเวสี มีพื้นที่ประมาณ 189,200 ตารางกิโลเมตร เกาะชวา มีพื้นที่ประมาณ 132,200 ตารางกิโลเมตร และเกาะอิเรียนจายา (อิเรียนตะวันตก) มีพื้นที่ประมาณ 422,000 ตารางกิโลเมตร
หมู่เกาะอินโดนีเซีย
แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ ออกได้เป็นสี่ส่วนคือ
- หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วย
เกาะสุมาตรา เกาะชวา กาสิมันตัน และสุลาเวสี
- หมู่เกาะซุนดาน้อย รวมเกาะต่าง
ๆ จากบาหลีไปทางตะวันออกถึงตะมอร์
- หมู่เกาะโมลุกกะ
(มาลุกุ) ประกอบด้วย หมู่เกาะที่อยู่ระหว่างเกาะอิเรียนจายา ถึงเกาะสุลาเวสี
- หมู่เกาะอิเรียนจายา
ประเทศอินโดนีเซีย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศต่าง
ๆ ดังนี้
- ทิศเหนือ ทิศเหนือของเกาะกาลิมันตัน
ติดต่อกับรัฐซาราวัคและรัฐซาบาห์ของมาเลเซีย โดยมีสันเขาเป็นเส้นกั้นพรมแดน
- ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะอิเรียนจายา ติดต่อกับน่านน้ำของประเทศฟิลิปปินส์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศปาปัวนิวกินี
- ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับน่านน้ำของประเทศมาเลเซีย
โดยมีช่องแคบมะละกาเป็นพรมแดนระหว่างเกาะสุมาตรากับประเทศมาเลเซีย
ลักษณะภูมิประเทศ
หมู่เกาะอินโดนีเซีย สามารถแบ่งตามลักษณะโครงสร้างได้สามส่วนคือ
หมู่เกาะอินโดนีเซีย สามารถแบ่งตามลักษณะโครงสร้างได้สามส่วนคือ
- ส่วนที่ 1 พื้นที่บริเวณไหล่ทวีปซุนดา
ได้แก่บริเวณเกาะชวา เกาะสุมาตรา และเกาะกาลิมันตัน
กับร่องน้ำระหว่างเกาะต่าง ๆ เหล่านี้กับฝั่งทะเลของประเทศมาเลเซีย
และอินโดจีน มีระดับน้ำลึกไม่เกิน 720 ฟุต
- ส่วนที่ 2 พื้นที่บริเวณไหล่ทวีปซาฮูลคือเกาะอีเรียนจายา
และเกาะอารู มีอาณาเขตจากฝั่งทะเลออสเตรเลียทางเหนือ ระดับน้ำลึกไม่เกิน 700
ฟุต
- ส่วนที่ 3 บริเวณพื้นที่ระหว่างบริเวณไหล่ทวีปซุนดา
และไหล่ทวีปซาฮูล ได้แก่ บริเวณหมู่เกาะนูซาแตงการา มาลูกู สุลาเวสี
มีความลึกของระดับน้ำถึง 15,000 ฟุต
ภูเขา
ภูเขาที่สำคัญ ๆ มีอยู่ประมาณ 100 ลูก จากจำนวนประมาณ 400 ลูก ภูเขาที่สูงที่สุดตามเกาะต่าง ๆ มีดังนี้
ภูเขาที่สำคัญ ๆ มีอยู่ประมาณ 100 ลูก จากจำนวนประมาณ 400 ลูก ภูเขาที่สูงที่สุดตามเกาะต่าง ๆ มีดังนี้
- ภูเขาเกรินยี อยู่บนเเกาะสุมาตรา
สูง 12,460 ฟุต
- ภูเขาเซมารู อยู่บนเกาะชวา
สูง 12,040 ฟุต
- ภูเขาแรนโตคอมโบรา อยู่บนเกาะสุลาเวสี
สูง 11,300 ฟุต
- ภูเขาปุมจักชวา อยู่บนเกาะอิเรียนจายา
สูง 16,000 ฟุต
ที่ราบ
โดยทั่วไปมีพื้นที่ราบน้อย ส่วนใหญ่เป็นที่ราบบริเวณเชิงเขา และบริเวณชายฝั่งทะเล ชายฝั่งทะเลมักเป็นที่ราบต่ำ บริเวณทางทิศตะวันออกของเกาะสุมาตรา และทางตอนเหนือของเกาะชวา จะมีลักษณะเป็นที่ราบกว้างใหญ่คลุมไปถึงบริเวณริมฝั่งทะเล และนอกจากนี้ก็มีบริเวณชายฝั่งของเกาะกาลิมันตัน และเกาะอีเรียนจายา
แม่น้ำและทะเลสาป เนื่องจากหมู่เกาะอินโดนีเซีย อยู่ในเขตมรสุมจึงมีฝนตกชุกตลอดปี และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา จึงทำให้เกิดแม่น้ำ และทะเลสาปอยู่บนเกาะต่าง ๆ มากมาย แม่น้ำและทะเลสาบที่สำคตัญได้แก่
โดยทั่วไปมีพื้นที่ราบน้อย ส่วนใหญ่เป็นที่ราบบริเวณเชิงเขา และบริเวณชายฝั่งทะเล ชายฝั่งทะเลมักเป็นที่ราบต่ำ บริเวณทางทิศตะวันออกของเกาะสุมาตรา และทางตอนเหนือของเกาะชวา จะมีลักษณะเป็นที่ราบกว้างใหญ่คลุมไปถึงบริเวณริมฝั่งทะเล และนอกจากนี้ก็มีบริเวณชายฝั่งของเกาะกาลิมันตัน และเกาะอีเรียนจายา
แม่น้ำและทะเลสาป เนื่องจากหมู่เกาะอินโดนีเซีย อยู่ในเขตมรสุมจึงมีฝนตกชุกตลอดปี และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา จึงทำให้เกิดแม่น้ำ และทะเลสาปอยู่บนเกาะต่าง ๆ มากมาย แม่น้ำและทะเลสาบที่สำคตัญได้แก่
- บนเกาะสุมาตรา มีแม่น้ำมุสิ
แม่น้ำบาตังฮาริ และแม่น้ำกำปา
- บนเกาะกาลิมันตัน มีแม่น้ำดาพัวส์
แม่น้ำมาริโต แม่น้ำมหกรรม และแม่น้ำงาจัง
- บนเกาะชวา มีแม่น้ำเบนกาวันโซโล
แม่น้ำซิตาวัม และแม่น้ำบราตัส
ทะเลสาบที่สำคัญ
ๆ ส่วนมากจะอยู่บริเวณกลางเกาะคือ
- บนเกาะสุมาตรา มีทะเลสาบปโตมา
ทะเลสาบมาบินิจอ และทะเลสาบซิงการัก
- บนเกาะสุลาเวสี มีทะเลสาบเทมบิ
ทะเลสาบโทวูติ ทะเลสาบสิเดนเรว ทะเลสาบปูโซ ทะเลสาบลิมลิมโบโต
และทะเลสาบตันตาโน
- บนเกาะอิเรียนจายา มีทะเลสาบพิเนีย
และทะเลสาบเซนตานี
สมุทรศาสตร์
ประเทศอินโดนีเซีย
ประกอบด้วยหมู่เกาะต่าง ๆ มีมหาสมุทรล้อมรอบทั้งสามด้าน
ระดับความลึกของน้ำทะเลจึงแตกต่างกันไป บริเวณที่น้ำตื้นส่วนใหญ่จะมีหินโสโครก
และหินปะการัง เนื่องจากลาวาของภูเขาไฟ เกาะใหญ่น้อยของอินโดนีเซียมีลักษณะแยกกัน
จึงก่อให้เกิดเส้นทางผ่านทะเลเป็นจำนวนมาก
เขตเวลา
ประเทศอินโดนีเซีย
แบ่งเขตเวลาออกเป็นสามเขต ได้มีการประกาศใช้เมื่อปี พ.ศ.2507 คือ
- เวลามาตรฐาน อินโดนีเซียตะวันตกเท่ากับ G.M.T บวกเจ็ดชั่วโมง (เส้นเมอริเดียน 105 องศาตะวันออก) คลุมถึงเกาะสุมาตรา เกาะชวา มาดูรา และเกาะบาหลี
- เวลามาตรฐาน อินโดนีเซียตะวันตกเท่ากับ G.M.T บวกเจ็ดชั่วโมง (เส้นเมอริเดียน 105 องศาตะวันออก) คลุมถึงเกาะสุมาตรา เกาะชวา มาดูรา และเกาะบาหลี
ทฤษฎีน่านน้ำบริเวณหมู่เกาะ อินโดนิเซียได้ออกคำประกาศเมื่อปี
พ.ศ.2500 ว่า
อินโดนิเซียมีความจำเป็นต้องใช้ทฤษฎีน่านน้ำบริเวณหมู่เกาะ
เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชนในประเทศ
พร้อมกับข้อเสนอเรียกร้องสามประการคือ
- ให้ลากเส้นเชื่อมโยง
รอบนอกของเกาะทุกเกาะ และแนวปะการังเข้ารวมเป็นดินแดนทั้งหมดของอินโดนิเซีย
- ให้อินโดนิเซียมีอธิปไตยเหนือน่านน้ำดังกล่าวข้างต้น
รวมตลอดถึงพื้นที่ในอากาศเหนือน่านน้ำ พื้นที่ใต้ทะเล พื้นที่ใต้ดิน
และทรัพยากรต่าง ๆ
- เรียกร้องสิทธิที่จะกำหนดขอบเขตทางทะเล
เศรษฐกิจทางทะเล และวางข้อกำหนดกฎหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับทะเล น่านน้ำอาณาเขต
เดิมข้อเสนอของอินโดนิเซีย
ถูกคัดค้านอย่างกว้างขวาง แต่ต่อมาปรากฎว่า หลายประเทศรวมทั้งสหรัฐอเมริกา
ได้แสดงท่าทีผ่อนคลายลงมาก หากอินโดนิเซีย ประสบผลสำเร็จแล้ว จะทำให้อินโดนิเซีย
มีดินแดนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 8.75 ล้านตารางกิโลเมตร ในจำนวนนี้เป็นส่วนที่เป็นพื้นดินประมาณ
2 ล้านตารางกิโลเมตร และยังสามารถคุมเส้นทางเดินเรือ
ระหว่างมหาสมุทรอินเดีย กับมหาสมุทรแปซิฟิก
จะทำให้อินโดนิเซียมีอิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจ
และการทหารในบริเวณพื้นที่แถบนี้มากขึ้น
ประชากร
ประชากร
ประเทศอินโดนีเซีย
มีประชากรส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายมาเลย์ ประมาณร้อยละ 95 ที่เหลือเป็นอินเดีย
อาหรับ จีน และชาวยุโรป แต่ถ้าแบ่งตามหลักฐานชาติวงศ์วิทยาแล้ว
ถือว่าชาวอินโดนีเซียมีต้นกำเนิดมาจาก 365 เชื้อชาติ
รวมเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้สี่กลุ่มด้วยกันคือ
- เมสเลเนเซียน
(Melanesians)
เป็นเผ่าพันธุ์ที่ผสมกันระหว่างกลุ่มมองโกลลอยด์ กับวาจาด
- โปรโตออสโตรเนเซียน
(Proto -
Autronesians)
- โพลีเนเซียน
(Polynesians)
- โมโครเนเซียน
(Micronesians)
ประชากรที่มีเผ่าพันธุ์ต่าง
ๆ เหล่านี้ อาศัยอยู่ตามเกาะสุมาตรา เกาะชวาตะวันตก เกาะมาดูรา เกาะบาหลี
เกาะลอมบก
เกาะตีมอร์ เกาะบอร์เนียว เกาะสุลาเวสี เกาะอีเรียนจายา
และตามแนวชายแดนด้านตะวันตก
ลักษณะของชาวอินโดนีเซีย จะมีตาคม ผมดำ ผิวสีน้ำตาล กระดูกแก้มกว้าง ตาเล็ก จมูกใหญ่ มีความสูงประมาณ 5 - 6 ฟุต พอกับความสูงของคนไทยทั่วไป ประชากรของอินโดนีเซีย มีมากเป็นอันดับห้าของโลก รองลงมาจาก จีน อินเดีย โซเวียตรัสเซีย และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ ประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 63 จะอยู่ทีเกาะชวา และเกาะมาดูรา จำนวนประชากรกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ คือ
ลักษณะของชาวอินโดนีเซีย จะมีตาคม ผมดำ ผิวสีน้ำตาล กระดูกแก้มกว้าง ตาเล็ก จมูกใหญ่ มีความสูงประมาณ 5 - 6 ฟุต พอกับความสูงของคนไทยทั่วไป ประชากรของอินโดนีเซีย มีมากเป็นอันดับห้าของโลก รองลงมาจาก จีน อินเดีย โซเวียตรัสเซีย และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ ประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 63 จะอยู่ทีเกาะชวา และเกาะมาดูรา จำนวนประชากรกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ คือ
- เกาะชวา มีพื้นที่ประมาณ
132,200 ตารางกิโลเมตร
เป็นเกาะใหญ่อันดับสี่ของอินโดนิเซีย มีพลเมืองอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด
ในบรรดาเกาะทั้งหลายของอินโดนิเซีย ประมาณร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมด
โดยเฉพาะที่เมืองจาการ์ตา ซึ่งเป็นเมืองหลวงมีประชากรอยู่หนาแน่นที่สุด
กว่าทุกเมืองในอินโดนิเซีย
- เกาะกาลิมันตัน มีพื้นที่ประมาณ
539,500 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะใหญ่อันดับหนึ่งของประเทศ
แต่มีประชากรอาศัยอยู่ไม่มากนัก ประมาณร้อยละ 4 ของประชากรทั้งหมด
- เกาะสุมาตรา มีพื้นที่ประมาณ
473,600 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะใหญ่อันดับสองของประเทศ
มีประชากรอาศัยอยู่เป็นอันดับสอง รองลงมาจากเกาะชวา ประมาณร้อยละ 4 ของประชากรทั้งหมดเกาะสุลาเวสี มีพื้นที่ประมาณ
189,000 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะใหญ่ อันดับสามของประเทศ
มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณร้อยละ 6 ของประชากรทั้งหมด
- เกาะมาลูกู มีพื้นที่ประมาณ
74,500 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะใหญ่อันดับห้าของประเทศ
มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณร้อยละ 1 ของประชากรทั้งหมด
- หมู่เกาะนุสาเตงการา
บาหลี และติมอร์ มีพื้นที่ประมาณ 76,300 ตารางกิโลเมตร มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณร้อยละ
5 ของประชากรทั้งหมด
- เกาะอิเรียนจายา มีพื้นที่ประมาณ
72,700 ตารางกิโลเมตร มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณร้อยละ 1
ของประชากรทั้งหมด
ภาษา
ภาษาประจำชาติของอินโดนีเซีย
ได้แก่ บาฮาซา อินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังมีภาษามลายูโปสีนีเซียน และภาษาท้องถิ่นอีกประมาณ
250
ภาษา ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่สำคัญรองลงมาจากภาษาประจำชาติ
และถือเป็นภาษาบังคับในโรงเรียนมัธยม
นอกจากนี้ยังใช้กันอย่างแพร่หลายในวงราชการและธุรกิจ สำหรับภาษาดัทช์
ใช้พูดกันในหมู่ผู้สูงอายุ ภาษาบาฮาซา
อินโดนีเซียได้โครงสร้างและคำส่วนใหญ่มาจากภาษามาเลย์
ประกอบด้วยภาษาท้องถิ่นอีกมากมาย ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่จะรู้สองภาษา
3. Republic of Indonesia (สาธารณรัฐอินโดนีเซีย) ธงชาติอินโดนีเซีย พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน โดยสีต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และอิสรภาพ
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ยุติธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น